วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อวัยวะภายใน กลไกมนุษย์

ระบบหมุนเวียนเลือด

               เมื่ออาหารถูกย่อยจนเล็กที่สุด แพร่เข้าสู่ผนังลำไส้เล็กและแพร่ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดแล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกับเลือด
          ระบบการหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด



         
เลือด
(Blood)  ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือพลาสมา(Plasma) และเม็ดเลือดซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด
(Platelet)
   เม็ดเลือดแดงมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีนและเหล็กมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน ก๊าซออกซิเจน จะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เม็ดเลือดขาวซึ่งผลิตโดยม้าม
* จะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย  ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล          น้ำเลือดประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ที่เหลื่อเป็นสารอาหารต่าง ๆ เช่นโปรตีน  วิตามิน  แร่ธาตุ  เอนไซม์  และก๊าซ          เส้นเลือด(Blood  Vessel) คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง  เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย          หัวใจ(Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง     -หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium)   มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด     -หัวใจห้องบนขวา(Right atrium)  มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว     -หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle)  มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด     -หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย      ระหว่างหัวใจซีกซ้ายและซีกขวามีผนังที่เหนียว หนา และแข็งแรงกั้นไว้ และระหว่างห้องหัวใจด้านบนและ
ด้านล่างของแต่ละซีก มีลิ้นของหัวใจคอยปิดกั้นมิให้เลือดไหลย้อนกลับ ดังนั้น การไหลเวียนของเลือดจึงเป็นการไหลไปในทางเดียวกันตลอด  ซึ่ง วิลเลียม ฮาร์วีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบการหมุนเวียนของเลือด และชี้ให้เห็นว่า เลือดมีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน


     การไหลเวียนของเลือดเริ่มโดยห้องบนขวารับเลือดดำที่ร่างกายใช้แล้ว ส่งไปยังห้องล่างขวา  ห้องล่างขวาจะฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอด   ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดจะเข้าสู่หัวใจทางห้องบนซ้ายแล้วส่งต่อมายังห้องล่างซ้าย  หัวใจก็จะฉีดเลือดแดงออกจากห้องล้างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่  ซึ่งต่อมาก็แยกออกเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย  เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เลือดที่ใช้แล้วก็จะไหลกลับมาที่หัวใจทางห้องบนขวาอีก  จะหมุนเวียนเช่นนี้ไปตลอดชีวิต เพื่อให้เห็นชัดเจนขอให้ดูแผนภาพต่อไปนี้



 
 ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นหน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ดังนี้
     1. นำอาหารและสารอื่น ๆ รวมทั้งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
     2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกลับมาใช้
     3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาโบลิซึมเพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
     4. ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย
     5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ
80  ครั้ง /นาที  ในวัยเด็กที่มีสภาพร่างการปกติชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่  การออกกำลังกายก็มีผลต่ออัตราการเต้นของชีพจร  การออกกำลังกายทำให้ร่างกายต้องการพลังงานสูงขึ้นกว่าปกติ  จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดมากขึ้น  การสูบฉีดเลือดจึงต้องสูงขึ้น  จะพบว่าชีพจรก็จะเต้นเร็วขึ้น  หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น 
จึงกล่าวได้ว่าการเต้นของชีพจรสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย
เครื่องมือที่ใช้ในการฟังการเต้นของชีพจรคือ 

     ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดจากหัวใจด้วยความดันสูงทำให้เลือดไปเลี้ยง
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนั้นก็จะมีความดันน้อยที่สุด ความดันเลือดที่แพทย์วัดออกมาได้ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอทจึงมีสองค่า  เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท
     ตัวเลข   110 แสดงค่าของความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวเพื่อดันเลือดออกจากหัวใจ
     ตัวเลข   70   แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
    
ถ้าเราเอานิ้วมือจับที่ข้อมือด้านซ้าย  จะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ภายใน  สิ่งนั้นเรียกว่า  ชีพจร
ชีพจรเป็นการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ  โดยคนหนุ่มสาวปกติชีพจรจะเต้นประมาณ 70
สเตโทสโคป  (stethoscope)
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์
3. พักผ่อนให้มาก เพราะการพักผ่อนนอนหลับจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง
4. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัย
5. ทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง  ไม่เครียด
6. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด




ระบบย่อยอาหาร

          ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ  ได้แก่  ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ตับ 
ตับอ่อน  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
          การย่อยอาหาร  เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้
การย่อยมี  2  ลักษณะคือ
          1.  การย่อยเชิงกล  เป็นการย่อยอาหารโดยไม่ใช้เอ็นไซม์มาช่วย  เป็นการบดเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง ได้แก่การบดเคี้ยวอาหารในปาก
          2.  การย่อยทางเคมี  เป็นการย่อยที่ต้องใช้เอ็นไซม์*(หรือน้ำย่อย)มาช่วย  ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาด
เล็กลง เช่นการเปลี่ยนโมเลกุลของแป้งเป็นน้ำตาล
          การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก  ลิ้น  ฟัน  ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ
   
          ปาก  เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากจะมีส่วนประกอบดังนี้
               -ฟัน  ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง
               -ต่อมน้ำลาย จะขับน้ำลายซึ่งมีน้ำย่อย ไทอะลิน
(Ptyalin) ออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร และช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล               -ลิ้นจะช่วยกวาด,  คลุกเคล้าอาหาร และส่งอาหารที่เคี้ยวลงสู่หลอดอาหาร
          หลอดอาหาร  ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร  ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร  โดยการบีบรัดของผนังกล้ามเนื้อ
          กระเพาะอาหาร  เป็นอวัยวะที่ต่อจากหลอดอาหาร  ในกระเพาะจะขับน้ำย่อยเพบซิน
(Pepsin) ซึ่งจะย่อยอาหารโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ โดยจะใช้เวลาประมาณ  3-4 ชั่วโมง จากนั้นจะส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก           ลำไส้เล็ก  การย่อยและดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่นี่  ลำไส้เล็กมีรูปร่างเป็นท่อยาวประมาณ  15 ฟุต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1 นิ้ว แบ่งออกเป็น  3  ตอน คือตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย  ภายในลำไส้เล็กจะมีส่วนที่ยื่นออกมาจำนวนมากเรียกว่า วิลไล(villi) ภายในวิลไลมีเส้นเลือดฝอยและน้ำเหลืองช่วยดูดซึมอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์          การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เป็นการย่อยขั้นสุดท้าย ซึ่งต้องอาศัยเอ็นไซม์จากลำไส้เล็กเองและจาก
ตับอ่อน
*ในการย่อยอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังมีน้ำดี*ซึ่งสร้างโดยตับ*และสะสมไว้ในถุงน้ำดี  อาหารที่ย่อยแล้วซึมเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาหารที่เหลือจากการถูกดูดซึมจะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อถ่ายออกจากร่างกายเป็นอุจจาระต่อไป
          ลำไส้ใหญ่  เป็นส่วนสุดท้ายของระบบย่อยอาหาร อยู่ติดกับลำไส้เล็ก ตรงรอยต่อจะมี ไส้ติ่ง
(Vermiform  appendix)ติดอยู่  ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย และส่งกากอาหารที่เหลือออกสู่ทวารหนักเป็นอุจจาระ

การปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบ
1.  รับประทานอาหารให้ครบทุกประเภทในแต่ละมื้อ และรับประทานอาหารแต่พอควร
     ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป  โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
2.  รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ
3.  ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ จุกจิก และทานให้ตรงเวลา
4.  อย่ารีบรับประทานอาหารขณะกำลังเหนื่อย
5.  ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป
6.  ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ
 
  
          

ทดสอบหลังเรียน

1.  ถ้าบ้านนักเรียนอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยควันพิษ จะเป็นอันตรายต่อระบบอวัยวะใดมากที่สุด

          ก. ระบบขับถ่าย
          ข. ระบบย่อยอาหาร
          ค. ระบบหมุนเวียนเลือด
          ง.  ระบบหายใจ
2.  การปฏิบัติตนตามข้อใดที่จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

          ก. ออกกำลังกายเหมาะสมกับวัย
          ข. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ
          ค. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด
          ง. พักผ่อนให้เพียงพอ
3.  การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายมนุษย์ เกิดขึ้นที่ใด

          ก. ในเซลล์ทุกเซลล์
          ข. ในหลอดเลือด
          ค. ในหัวใจทั้ง 4 ห้อง
          ง.  ในถุงลมปอด
4.  ข้อใดลำดับการทำงานถูกต้อง

         ก. ไต-กระเพาะปัสสาวะ-หลอดไต-ท่อปัสสาวะ
         ข. ปอด-หัวใจห้องบนซ้าย-ห้องล่างซ้าย-ส่วนของร่างกาย
         ค. จมูก-ปอด-หลอดลม-กระบังลม
         ง. กระเพาะอาหาร-หลอดอาหาร-ลำไส้เล็ก-ลำไส้ใหญ่
5.  อวัยวะข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับการขับถ่าย

          ก. ตับ
          ข. ไต
          ค. ปอด
          ง. ผิวหนัง
6.  ในขณะที่หายใจเข้า ลักษณะของกล้ามเนื้อกระบังลมและซี่โครง เป็นอย่างไร

          ก. กระบังลมขยายตัว/ซี่โครงยกตัวสูงขึ้น
          ข. กระบังลมหดตัว/ซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลง
          ค. กระบังลมขยายตัว/ซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลง
          ง. กระบังลมหดตัว/ซี่โครงยกสูงขึ้น
7.  หลังจากเกิดบาดแผลเล็ก ๆ ข้อใดทำให้เลือดแข็งตัว

          ก. เม็ดเลือดแดง
          ข. เกล็ดเลือด
          ค. เม็ดเลือดขาว
          ง. พลาสมา
8.  ตับอ่อน เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหารอย่างไร

          ก. ดูดซึมสารอาหารประเภทวิตามิน
          ข. ผลิตน้ำย่อยเพื่อย่อยที่ลำไส้เล็ก
          ค. ดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย 
          ง.  เก็บสะสมอาหารที่ย่อยแล้ว
9.  ข้อใดไม่ถูกต้อง
 
          ก. เลือดจากหัวใจห้องล่างขวาถูกนำไปฟอกที่ปอด
          ข. เม็ดเลือดขาวเป็นตัวช่วยกำจัดเชื้อโรค
          ค. เลือดดำจากส่วนของร่างกายเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย
          ง. การหมุนเวียนของเลือดเป็นไปในทางเดียวกันตลอด
10.  ถ้าบ้านนักเรียนอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยควันพิษ จะเป็นอันตรายต่อระบบอวัยวะใดมากที่สุด

       ก. ระบบขับถ่าย
       ข. ระบบหมุนเวียนเลือด
       ค. ระบบย่อยอาหาร
       ง. ระบบหายใจ

ทดสอบก่อนเรียน

1.  การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายมนุษย์ เกิดขึ้นที่ใด

     ก. ในหัวใจทั้ง 4 ห้อง
     ข. ในหลอดเลือด
     ค. ในเซลล์ทุกเซลล์
     ง. ในถุงลมปอด
2. อวัยวะข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับการขับถ่าย

     ก. ไต
     ข. ตับ
     ค. ผิวหนัง
     ง. ปอด
3.  ถ้าบ้านนักเรียนอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยควันพิษ จะเป็นอันตรายต่อระบบอวัยวะใดมากที่สุด

     ก. ระบบย่อยอาหาร
     ข. ระบบขับถ่าย
     ค. ระบบหมุนเวียนเลือด
     ง. ระบบหายใจ
4.  ในขณะที่หายใจเข้า ลักษณะของกล้ามเนื้อกระบังลมและซี่โครง เป็นอย่างไร

     ก. กระบังลมขยายตัว/ซี่โครงยกตัวสูงขึ้น
     ข. กระบังลมหดตัว/ซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลง
     ค. กระบังลมขยายตัว/ซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลง
     ง. กระบังลมหดตัว/ซี่โครงยกสูงขึ้
5.  การปฏิบัติตนตามข้อใดที่จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

     ก. ออกกำลังกายเหมาะสมกับวัย
     ข. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ
     ค. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด
       ง. พักผ่อนให้เพียงพอ
6. ตับอ่อน เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหารอย่างไร

        ก. ดูดซึมสารอาหารประเภทวิตามิน
        ข. เก็บสะสมอาหารที่ย่อยแล้ว 
        ค. ดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย
        ง. ผลิตน้ำย่อยเพื่อย่อยที่ลำไส้เล็ก
7.  การอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ เป็นการปฏิบัติตนเพื่อดูแลอวัยวะระบบใด

        ก. ระบบหายใจ
        ข. ระบบขับถ่าย
        ค. ระบบย่อยอาหาร
        ง. ระบบหมุนเวียนเลือด
8.  ข้อใดลำดับการทำงานถูกต้อง

        ก. จมูก-ปอด-หลอดลม-กระบังลม
        ข. ปอด-หัวใจห้องบนซ้าย-ห้องล่างซ้าย-ส่วนของร่างกาย
        ค. ไต-กระเพาะปัสสาวะ-หลอดไต-ท่อปัสสาวะ
        ง. กระเพาะอาหาร-หลอดอาหาร-ลำไส้เล็ก-ลำไส้ใหญ่
9.  หลังจากเกิดบาดแผลเล็ก ๆ ข้อใดทำให้เลือดแข็งตัว

        ก. เกล็ดเลือด
        ข. เม็ดเลือดแดง
        ค. พลาสมา
        ง. เม็ดเลือดขาว
10.  ข้อใดไม่ถูกต้อง

        ก. เม็ดเลือดขาวเป็นตัวช่วยกำจัดเชื้อโรค
        ข. เลือดจากหัวใจห้องล่างขวาถูกนำไปฟอกที่ปอด
        ค. เลือดดำจากส่วนของร่างกายเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย 
        ง. การหมุนเวียนของเลือดเป็นไปในทางเดียวกันตลอด

บทนำ

บทนำ
สิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้ถูกมนุษย์บันทึกไว้แล้วหลายอย่าง  ซึ่งบางอย่างอยู่ไกลแสนไกลจนหลายคน
ไม่มีโอกาสได้สัมผัส
หรือเข้าใกล้แม้ตราบจนสิ้นชีวิต 
แต่มีสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด
แต่กลับไม่ได้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกคือ ร่างกายของเราเอง    หากมองให้ลึกลงไปจะพบว่า
ภายในร่างกายเรานั้นมีระบบกลไกต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อน และสามารถทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบได้อย่างน่าพิศวง จนมีผู้กล่าวไว้ว่า ร่างกายมนุษย์ เป็นเครื่องจักรที่มหัศจรรย์และวิเศษที่สุด ไม่มีเครื่องจักรชนิดใดในโลกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับระบบกลไกของมนุษย์อีกแล้ว
ส่วนที่เล็กที่สุดของร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์   เซลล์ชนิดเดียวกันรวมเรียกว่าเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อหลาย ๆ กลุ่มทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เรียกกลุ่มของเนื้อเยื่อเหล่านี้ว่า อวัยวะ 
อวัยวะหลาย ๆ อย่างที่ทำงานร่วมกัน เรียกว่า ระบบอวัยวะ 
ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายระบบ
ในที่นี้ขอนำเสนอเพียงบางส่วนที่สอดคล้องกับ
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่
ระบบย่อยอาหาร    ระบบหมุนเวียนเลือด  ระบบหายใจ  และระบบขับถ่าย

อวัยวะ

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ

       จากความรู้ในระบบหมุนเวียนเลือด  นอกจากเลือดจะลำเลียงอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้วภายในเลือดยังมีแก๊สสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ แก๊สออกซิเจน(O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อยู่ด้วย


รูปที่ 1  ระบบหายใจ

                           ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊สโดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย  อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่
         
จมูก หลอดลม ปอด กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง          จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกายและรับรู้กลิ่น  ภายในจมูกจะมีขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองและมีเยื่อเมือกหนาบุอยู่ คอยดักจับเชื้อโรคและมีกลุ่มประสาทสัมผัสกลิ่นคอยรับกลิ่น  อากาศที่สูดหายใจเข้าไปเมื่อผ่านโพรงจมูกแล้วจะลงสู่คอหอย  ลิ้นไก่ จะช่วยปิดโพรงจมูกและช่องปากเพื่อมิให้อากาศไหลกลับ
          หลอดลม จะทอดลงไปในช่องอกปลายแยก เป็นขั้วปอดทั้งสองข้าง เป็นท่อทางผ่านของอากาศและออกจากปอดที่ใหญ่ที่สุด
          ปอด  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถุงเหล่านี้ยืดหยุ่นและหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกทั้งสองข้าง ตรงกลางระหว่างขั้วปอดเป็นที่ตั้งของหัวใจ  ปอดซีกขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดซีกซ้าย  ปอดทั้งสองข้างทำหน้าที่เหมือนกันคือฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง  โดยการถ่ายเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และน้ำ(H2O)  ออก  แล้วเติมออกซิเจน(O2 )  เข้าไป


                               
                                                
                                

กระบังลมและซี่โครง  เป็นกลไกในการหายใจ  กล่าวคือ ขณะที่ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก  สมองจะสั่งงานมายังกระบังลมและซี่โครง ให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการหายใจเข้า หรือ ขณะที่กระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก


            โดยทั่ว ๆ ไปแล้วคนปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 14-18 ครั้งต่อนาที การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ  เราไม่สามารถกลั้นหายใจได้เกิน 1 นาที อย่างไรก็ตามอัตราการหายใจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
            1.  อายุ      
               - เด็กทารกหายใจประมาณ 30
40 ครั้งต่อนาที
              
- ผู้ใหญ่ หายใจประมาณ 12-16 ครั้งต่อนาที
            2.  ภาวะของร่างกาย
               - ขณะที่ออกกำลังกายหรือเป็นไข้ การหายใจจะเร็วหรือแรงเพื่อให้ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจนมาก
               - ขณะนอนหลับ ร่างกายจะทำงานน้อยลง จึงต้องการก๊าซออกซิเจนน้อยกว่าปกติ การหายใจจะช้าลง
              กล่าวโดยสรุป สภาพของร่างกาย  การวิตกกังวล  อารมณ์  กิจกรรมที่ทำและวัย  มีผลต่ออัตราการหายใจ  เด็กทารกจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่

 การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1.  พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อปอดจะได้รับก๊าซออกซิเจนเพียงพอ
2.  ไม่สวมเสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดตึงจนเกินไป เพราะปอดจะขยายตัวไม่สะดวก
3.  สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นอยู่เสมอ  ในขณะที่อากาศเย็น
4.  ไม่สูบบุหรี่ และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือวัณโรค  เพราะอาจจะติดเชื้อได้
5.  ยืนหรือนั่งตัวตรง เพื่อให้ปอดทำงานได้สะดวก
6.  ควรออกกำลังกายอยู่เสมอ


                                                                                   ระบบขับถ่าย


ระบบขับถ่าย

            ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงานการเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย  ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
1.  สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
2.  สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
            ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป  ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ  ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ  ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
            -อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
            -
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊ส คือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
            -
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
            -อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ  ได้แก่ ไต  หลอดไต  กระเพาะปัสสาวะ
            -อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่
ขับเหงื่อ
1.  การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
            การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ  5  ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5  นิ้ว  เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร  ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น     ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป  เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก


สาเหตุของอาการท้องผูก
1.  กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
2.  กินอาหารรสจัด
3.  การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
4.  ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
5.  สูบบุหรี่จัดเกินไป
6.  เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
            โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร  ซึ่งจะทำให้เกิดอุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
2.  การขับถ่ายของเสียทางปอด
            เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด  แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจากร่างกายทางจมูก
 3.  การขับถ่ายของเสียทางไต
            จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต  โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ



ไต  มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง   6 เซนติเมตร และหนา  3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ  ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
            กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต  หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา  ส่วนของเสีย
อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
            ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
- ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
- ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
- การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น
4.  การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
            ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ
 

                เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ  ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล  แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย
            ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย  โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย  ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส
   การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
1. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
2. ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
3. ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
5. ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์